การวางแผนในการเปิดร้านเบเกอรี่

ตารางการรทำงานก่อนเปิดร้านเบเกอรี่

ขั้นตอนแรก กำหนดวันเปิดร้าน จากนั้นก็

วางแผนการทำงานใน 1 ปี จำลองเวลา

เวลาไว้ที่ 1 ปี ในช่วงนั้นควรทำอะไร

จัดลำดับการทำงานให้แน่นอน

 

 

ขั้นตอนการทำงานก่อนเปิดร้าน

ช่วง หัวข้อปฏิบัติ ตัวอย่าง สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนลงมือปฏิบัติ

เดือนที่

1-3

ตระเวนไปตามร้านเบเกอรี่

ที่ได้รับความนิยม

ชิมด้วยตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่าขนมชนิดไหนที่

ได้รับความนิยม นอกจากไปตามร้านแบบทีี่

ตัวเองคิดไว้แล้ว ยังต้องตระเวนไปตามร้าน

ที่มีรูปแบบแตกต่างกันไปอีกด้วย เพื่อ

ศึกษาข้อดี แล้วนำมาปรับใช้กับร้าน

ของตัวเอง

1.หาข้อมูลล่าสุดจากโทรทัศน์ นิตยสาร

หรืออินเตอร์เน็ต

2.วิเีคราะห์เหตุผลที่ร้านเหล่านั้นได้รับ

ความนิยม เช่น รสชาติ บรรยากาศ

บริการ ฯลฯ

3.นอกจากขนมปังและขนมเค้กแล้ว

ยังต้องดูแนวโน้มด้านอื่นด้วย

เดือนที่

4-5

วางรูปแบบร้านเบเกอรี่

แบบคร่าวๆ

พิจารณาข้อมูลต่างๆ แล้วร่างโครงสร้างร้าน

เบเกอรี่ในรูปแบบของตัวเองออกมา โดยดู

ว่าต้องการขายขนมแบบใดให้ลูค้า อยาก

ให้ลุกค้ากลุ่มใดชื่นชอบ แล้วร่างแบบที่

คิดไว้ออกมาก่อนในขั้นต้น

1.พิจารณาให้รอบด้าน เช่น กลุ่มลูกค้า

ทำเลที่ตั้ง เงินทุน เป็นต้น

2.ใช้แนวคิดที่ตัวเองคิดว่าดี อย่างฟัง

คนอื่นบอกว่าดีแล้วทำตามเป็นอันขาด

ต้องทดลองและพิจารณาด้วยตัวเอง

เดือนที่

6-8

มุ่งไปข้างหน้า

เกรียมเปิดร้าน

ทำตามแนวคิดในการดำเนินกิจการ โดยเริ่ม

จากการเสาะหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มอง

หาพื้นที่ที่ชอบ แล้วพิจารณาถึงขนาด

รูปแบบ และลักษณะของร้าน และเพื่อ

ควบคุมงบประมาณจึงต้องคำนวณค่าใช้จ่าย

ต่างๆให้ละเอียดและใกล้เคียงความจริง

มากที่สุด

 

1.สำรวจข้อมูลต่างๆ เช่น ราคา

การหมุนเวียนลูกค้าของคู่แข่ง และ

ระดับลูกต้า เป็นต้น

2.เลือกและกำหนดบริษัทออกแบบและ

ตกแต่ง คำนวณว่าต้องใช้ค่าใช้จ่าย

เท่าไร

3.วางโครงสร้างของพื้นที่หน้าร้านและ

สินค้าจะต้องเตรียมอะไรบ้างและมีค่าใช้

จ่ายเท่าไร

เดือนที่

9

เริ่มซื้อสิ่งของต่างๆ

เตรียมอุปกรณืต่างๆให้พร้อม ตั้งแต่อุปกรณ์

ขนาดใหญ่ไปจนถึงชิ้นเล็กๆ การเลือกวัตถุ

ดิบต้องระมัดระวังในการเลือกบริษัทผู้

จำหน่าย ควรมีความรู้ความเข้าใจเกียวกับ

ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ รวมทั้งจุดเด่นของ

เครื่องปรุงแต่ละชนิดก็ต้องศึกษาให้ถ่องแท้

 

1.ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์ขนาดใหญ่ต้อง

ตรวจสภาพการทำงานของเครื่องให้

เรียบร้อย

2.การเลือกซื้อควรพิจารณาจากรสนิยม

ของตัวเอง และต้องเปรียบเทียบสินค้า

จากผู้จัดจำหน่ายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป

เดือนที่

10

เตรียมเงินทุน

พยายามใช้เงินทุนกับการลงทุนขั้นต้นให้

น้อยที่สุดเท่าีที่จะเป็นไปได้ เพื่อรักษาเงินทุน

หมุนเวียนเอาไว้ หากจำเป็นต้องกู้ยืมควร

พิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมและรายละเอียด

อื่นๆ ให้ดี

 

1.คำนวณดูว่าสามารถกู้เงินได้เท่าไร

2.ผู้ที่ต้องการกู้ยืมควรศึกษาวิธีการเขียน

แผนการดำเนินกิจการให้เข้าใจ

3.คำนวณค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน รวม

ทั้งเป้าหมายในการดำเนินกิจการ

เดือนที่

11-12

ใกล้จะถึงเวลาเปิด

ร้านแล้ว

ในช่วงเวลานี้ต้องตัดสินใจถึงรายละเอียด

ต่างๆ เช่น ตั้งชื่อร้าน ออกแบบเครื่องหมาย

การค้า ทำแผ่นป้ายรายการสินค้า วางแผน

การจัดเรียงสินค้า ออกแบบพื้นที่ภายในร้าน

พื้นที่สำหรับลูกค้า กำหนดเวลาอบขนม

ก่อนเปิดร้านอาจกระจายสินค้าให้ทดลองชิม

เพื่อเป็นการประชาสีมพันธ์ไปในตัว

1.ตรวจสอบรายการอาหาร แผ่นป้าย

และการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ

2.เลือกซื้อวัตถุดิบ สินค้าคลคลัง

3.ทดลองทำในสถานการณ์จริงและ

ตรวจสอบว่าเหมาะสมหรือไม่ แล้วปรับ

ลำดับการทำงานให้ลงตัว ควบคุมรสชาติ

ให้แม่นยำ

เรียนรู้เทคนิค

เรียนรู้ที่โรงเรียนฝึกอาชีพ

โรงเรียนฝึกอาชีพจะถ่ายทอดความรู้และเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีมาตรฐานที่แน่นอน ตัวอย่่างเช่น ชื่อเรียกของส่วนผสมและอุปกรณ์ วิธีจับและวิธีใช้ ความรู้ด้านวัตถุดิบ การผลิต ความรู้ด้านวัฒนธรรม เช่น ประวัติศาสตร์และกระแสนิยม รวมไปถึงความรู้ด้านโภชนาการและสุขลักษณะ เป็นการเรียนรู้ภาพกว้างในขอบเขตที่เกี่ยวกับขนมปังและขนมเค้ก ภายใตัสภาพแวดล้อมที่มีอุปกรณ์ท้นสมัยอาจทำให้ไม่ต้องกังวลกับความล้มเหลวมากนัก จะทดลองกี่ครั้งก็สามารถทำได้ หากมีข้อสงสัยสามารถถามจากอาจารย์ และยังสามารถแลกเปลี่ยนพูดคุยประสบการณ์กับเพื่อนร่วมชั้นหรืออาจารย์ชื่อดังทางอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อดีที่หาไม่ได้จากการฝึกงานที่ร้าน

การฝึกงานในร้าน

หากเรียนจบจากโรงเรียนแล้วเริ่มเปิดร้านท้นที จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก การผลิตสินค้าในความเป็นจริงนั้นจำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพิจารณาเรืืองเงินลงทุนเสียก่อน ดังนั้นจึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการเรียนในโรงเรียน

ถึงแม้ได้เรียนรู้หลักพื้นฐานในการทำขนมปังและขนมเค้กจากโรงเรียนมาแล้ว แต่ในด้านของการเลือกซื้อวัตถุดิบ การจัดการโครงสร้างสินค้าภายในร้าน การไหลเวียนสินค้า การต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ประสบการณ์เหล่านี้หากไม่ได้เผชิญกับสถานการณ์จริง คงไม่สามารถสัมผัสได้

นอกจากนี้ต้องไม่รอให้ผู้มีประสบการณ์มาคอยสอนอย่างใกล้ชิด ต้องจำไว้ให้แม่นยำว่า การทำงานในสถานการณ์จริงนั้น "ความเีคยชินสำคัญกว่าการเรียนรู้" และ "เทคนิคและความรู้เป็นสิ่งที่ต้องแอบศึกษา" ร้านที่เราจะไปเรียนรู้ต้องเลือกร้านที่มีแนวคิดและสินค้าสอดคล้องกับที่อยากเปิด

การศึกษาด้วยตนเอง

การเปิดร้านขนมปังหรือขนมเค้ก ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองหรือข้อมูลพิเศษอะไร เพียงแค่ชื่นชอบขนมปังและขนมเค้ก ขยันเรียนรู้ ใช้เตาอบที่ตัวเองมีอยู่อบขนมปังแล้วแบ่งปันให้เพื่อนฝูง เมื่อได้รับความชื่นชอบจะมีใบสั่งสินค้าลอยมาหาเรื่อย ๆ เมื่อนั้นจึงจะจำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ เปิดร้าน และจ้างพนักงาน เนื่องจากความสะดวกสบายจากอินเตอร์เน็ต บางคนไม่ได้้ตั้งเป็นหน้าร้านจริงจังด้วยซ้ำไป สามารถเปิดร้านออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้

แต่เมื่อไม่มีประสบการณ์จากการเรียนรู้หรือการฝึกงานอย่างเป็นระบบ จึงไม่มีคนให้คนแนะนำเรื่องการใช้อุปกรณ์ การเลือกซื้อวัตถุดิบหรือความรู้เกีี่ยวกับการดำเนินกิจการ หากเป็นคนที่สนใจด้านนี้อยู่แล้ว และร้านมีขนาดเล็กคงไม่มีปัญหาอะไร แต่ัตัวอย่างที่ก้าวไปอย่างยากลำบากเมื่อเริ่มเปิดกิจการแล้วไม่น้อยเช่นกัน

หากต้องการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขนมปังและขนมเค้ก จำเป็นต้องขยันหมั่นเพียรและมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า นี่เป็นสิ่งสำคัญมาก

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนสอนอบขนม สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกงานในร้าน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาด้วยตนเอง

1.วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ

2.ขั้นตอนและการฝึกฝนการผลิต

3.ความรู้ด้านวัตถุดิบ

4.ความรู้ด้านคหกรรม โภชนาการ

สุขลักษณะ เป็นต้น

5.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับขนมปังและขนมเค้ก

1.ขั้นตอนการทำงานจริงภายในร้าน

2.ประสบการณ์การจัดซื้อวัตถุดิบ

3.ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

4.โครงสร้างเมนู

5.ขั้นตอนการขาย

6.วิธีการให้บริการลูกค้า

7.การจัดการธุรกิจ

1.ความรู้และข้อมูลที่ได้จากหนังสือ

2.ประสบการณ์จากการไปทดลองชิมตามร้านต่าง ๆ

3.เทคนิคที่ได้จากการเข้าร่วมงานอบรมและงานสัมมนา

4.คำวิจารณ์สินค้าจากเพื่อนฝูงและญาติพี่น้อง

5.เคล็ดลับการขายในแบบเฉพาะตัว ทั้ง

การขายตามท้องตลาดและทางอินเตอร์เน็ต

 

วิธีการและข้อดีในการเสาะหาบริษัทจัดหาสินค้า

1. อินเตอร์เน็ต

สามารถหาข้อมูลได้หลากหลายชนิดทั้งแหล่งผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก เป็นต้น รวมถึงหาข้อมูลของผู้ค้าบริเวณใกล้เคียงได้ และยังหาข่าวสารของผู้ประกอบการจากทั่วประเทศได้

2. สอบถามจากร้านต่าง ๆ

สอบถามถึงบริษัทจัดหาสินค้าจากร้านแห่งอื่น สามารถสอบถามดูว่าต้องใช้วัตถุดิบใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร และสอบถามถึงสภาพโดยรวมได้ หากคุณเป็นลูกค้าประจำของร้านนั้น อาจให้เจ้าของร้านแนะนำให้รู้จักกับผู้ประกอบการได้

3. งานแสดงสินค้า

ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงแหล่งผลิตก็สามารถสัมผัสกับสินค้าท้องถิ่นจากแหล่งผลิตได้โดยตรง ซึ่งผู้ผลิตนำมาจัดแสดงเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า ดังน้นโดยพื้นฐานแล้วจึงไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากนัก

4. ขอคำแนะนำจากสถาบันหรือผู้ประกอบการ

หากเจอสินค้าที่เคยเห็นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทดลองรสชาติหรือสอบถามเรื่องราคาอีก ถึงแม้จะเป็นร้านที่เพิ่งเคยติดต่อเป็นครั้งแรก อาจให้ผู้ประักอบการที่รู้จักกันแนะนำได้ เพื่อทำความรู้จักกันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังอาจขอให้แนะนำผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมให้รู้จักได้

จำเป็นต้องหาวัตถุดิบอะไรบ้าง

1. แป้งขนมปัง ไข่ นม ฯลฯ

สามารถสั่งซื้อจากแหล่งผลิตโดยตรง หรือหาซื้อจากร้านค้าส่งหรือตามตลาดก็ได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบพื้นฐาน ดังนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการหาซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีการส่งสินค้าไม่แน่นอน

2. ผัก ผลไม้

สินค้าเกษตรเหล่านี้สามารถหาซื้อแบบสดใหม่ได้จากตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่หากเน้นเรื่องคุณภาพอย่างจริงจัง อาจใช้วิธีลงสัญญาร่วมมือกับไร่แหล่งผลิตได้โดยตรง

3. บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ

สามารถสั่งได้จากผู้จำหน่าย ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ กระเป๋าถือ เป็นต้น ผู้ประกอบการหลายรายไม่เพียงให้ความสำคัญกับการจำหน่ายเพียงอย่างเดียว แต่ยังเน้นเรื่องการออกแบบด้วย

ขั้นตอนการเจรจาสั่งซื้อสินค้า

1. เลือกผู้ประกอบการที่น่าสนใจ

ควรเลือกสัก 5-10 ร้าน สำหรับสินค้าแต่ละชนิด สามารถตรวจสอบข้อมูลเรื่องสินค้าและการสั่งซื้อจากทางอินเตอร์เน็ตหรือโทรศัพท์

2. ติดต่อผู้ประกอบการที่เราสนใจ

พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคา วันส่งสินค้า และการคืนสินค้า เป็นต้น ลดปริมาณร้านที่สนใจให้เหลือ 3-4 แห่ง แล้วติดต่อนัดหมาย

3. ตรวจสอบสินค้า

ขอให้ฝ่ายคู่ค้าส่งสินค้าที่เราสนใจมาให้ตรวจสอบก่อน หากไม่สนใจสินค้านั้น เราสามารถปฎิเสธและเลือกผู้ประกอบการรายใหม่ได้

4. เริ่มการเจรจา

กล่าวถึงข้อเสนอของตัวเอง ทั้งเรื่องราคา ปริมาณ วันกำหนดส่ง เป็นต้น และเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันและกันจึงควรเจรจาเพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

จุดสำคัญในการเจรจา

1. ขอให้บริษัทสองสามแห่งเสนอราคาก่อน

หากไม่เปรียบเทียบราคากับบริษัทอื่น คงไม่สามารถหาผู้ประกอบการที่มีข้อตกลงที่ดีกว่าได้ ขณะเดิียวกันอาจนำเรื่องชื่อเสียงของบริษัทมาประกอบการตัดสินใจได้

2. ตรวจสอบสินค้าจริง

คงไม่มีผุ้ประกอบการรายใดที่จะบอกว่าสินค้าของตัวเองไม่ดี ถึงแม้สินค้าจะดีอยู่แล้ว แต่ต้องดูด้วยว่าเหมาะสมกับตนเองหรือไม่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบสินค้าจริงด้วยตนเอง

3. ราคา ค่าใช้จ่าย

ใบสั่งสินค้าในปริมาณมากและการเพิ่มการสั่งซื้อ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจช่วยลดต้นทุนในการสั่งซื้อได้ ส่วนด้านค่าใช้จ่ายและวันกำหนดส่งนั้น ต้องตรวจสอบให้ละเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

4. วันส่งสินค้า การคืนสินค้า

กำหนดวันส่งสินค้าและข้อตกลงเรื่องการคืนสินค้าให้แน่นอน การพูดปากเปล่าอาจไม่แน่นอน ดังน้นควรกำหนดเป็นข้อตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดเจน